ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ
หมายเหตุประกอบงบการเงินและงบการเงินรวมประจำปี 2541 และ 2540
02 มีนาคม 2542
บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
วันที่ 31 ธันวาคม 2541 และ 2540
1. เรื่องทั่วไป
บริษัทฯ ได้รับอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในการรับหุ้นสามัญของบริษัทฯ เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2539 และเริ่มทำการซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2540
2. การแสดงรายการในงบการเงิน
งบการเงินนี้ได้จัดทำขึ้นตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2539) เรื่องแบบงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน ของบริษัท
มหาชนจำกัด ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2539 ออกตามความในพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535
3. สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ
3.1 หลักเกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม
งบการเงินรวมของบริษัทฯ ได้รวมงบการเงินของบริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)และของบริษัทย่อย
ที่บริษัทฯ ถือหุ้นทั้งโดยทางตรง และทางอ้อมเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุนที่ออกจำหน่าย หลังจากได้ตัดยอดคงเหลือ และ
รายการระหว่างกันที่มีนัยสำคัญออกแล้ว
บริษัทฯ มีบริษัทย่อย 8 แห่ง โดยถือหุ้นร้อยละ 64.9 และร้อยละ 99.9 ซึ่งในการทำงบการเงินรวม ถือเป็นร้อยละ
65 และร้อยละ 100 ตามลำดับ ได้แก่
ลักษณะของธุรกิจ ถือหุ้นร้อยละ
บริษัท บางพลีวิว จำกัด ธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์ 99.99
บริษัท บ้านสุขสบาย จำกัด ธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์ 99.98
บริษัท บ้านสยาม จำกัด ธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์ 99.99
บริษัท วิภาวิว จำกัด ธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์ 99.99
บริษัท คอนติเนนตัล ซิตี้ จำกัด ธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์ 99.99
บริษัท เวิร์ลไทม์โฮลดิ้ง จำกัด ธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์ 99.99
บริษัท เอส แอนด์ พี พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเมนท์ จำกัด ธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์ 99.99
(เดิมชื่อ บริษัท โนเบิล พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเมนท์ จำกัด)
บริษัท รีเสิร์ช แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด ธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์ 64.99
ราคาทุนรวมของเงินลงทุนในบริษัทย่อยของบริษัทฯ สูงกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิตามบัญชีบริษัทย่อย ณ วันซื้อ
ซึ่งส่วนเกินดังกล่าว ได้แสดงในบัญชีค่าความนิยมในงบดุลรวมและตัดจำหน่ายภายในระยะเวลา 10 ปี
3.2 การรับรู้รายได้
รายได้จากการขายอาคารชุด ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และรายได้จากการรับสร้างบ้าน บันทึกรายได้เมื่อได้มีการ
ทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว ตามเกณฑ์อัตราร้อยละของงานพัฒนาที่ทำเสร็จ
เงินค่างวดที่ถึงกำหนดชำระตามสัญญาส่วนที่ยังไม่ได้รับชำระ แสดงไว้เป็น "ลูกหนี้การค้า" งานพัฒนาที่ทำเสร็จส่วน
ที่เกินกว่าหรือต่ำกว่าเงินค่างวดที่ถึงกำหนดชำระตามสัญญาแสดงไว้เป็น "มูลค่างานที่เสร็จยังไม่ได้เรียกเก็บ" หรือ "ค่างวด
ที่ยังไม่รับรู้เป็นรายได้" ตามลำดับ ในงบดุลรวม
รายได้จากการขายและการให้บริการ ถือเป็นรายได้เมื่อได้ส่งมอบสินค้าและได้ให้บริการแล้ว
3.3 ต้นทุนขายและต้นทุนรับสร้างบ้าน
ต้นทุนขายและต้นทุนรับสร้างบ้าน รวมการปันส่วนต้นทุนที่ดิน ต้นทุนการพัฒนาและค่าก่อสร้างทั้งหมดที่คาดว่า จะ
เกิดขึ้นให้กับหน่วยในโครงการ คำนวณตามอัตราส่วนของการรับรู้รายได้ที่ถือตามเกณฑ์อัตราร้อยละของงานพัฒนาที่ ทำ
เสร็จ
3.4 สินค้าคงเหลือ
สินค้าคงเหลือ - เครื่องจักร แสดงในราคาทุน (วิธีเข้าก่อน - ออกก่อน) หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใด
จะต่ำกว่า
วัสดุก่อสร้างคงคลัง แสดงในราคาทุน (วิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่) หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า
3.5 ต้นทุนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ต้นทุนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แสดงตามราคาทุน ซึ่งประกอบด้วย ต้นทุนในการได้มาซึ่งที่ดิน การพัฒนาที่ดิน
ต้นทุนการก่อสร้าง ดอกเบี้ยเงินกู้ที่เกี่ยวข้อง ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขายและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโครงการ
ในปี 2541 ในงบการเงินรวม และงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ ได้โอนค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขายของบางโครงการ
ไปเป็นค่าใช้จ่าย จำนวน 86,804,176 บาท และ 22,614,751 บาท ตามลำดับ เนื่องจากโครงการดังกล่าวได้หยุดชะงัก
การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3.6 งานระหว่างก่อสร้าง
งานระหว่างก่อสร้าง แสดงตามราคาทุน ซึ่งประกอบด้วย ต้นทุนการก่อสร้าง ดอกเบี้ยเงินกู้ที่เกี่ยวข้อง
ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย ค่าบริหารโครงการ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโครงการ
3.7 การบันทึกดอกเบี้ยเป็นราคาทุนของสินทรัพย์
บริษัทฯ บันทึกดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เพื่อใช้ในการจัดหาที่ดินและพัฒนาที่ดินเพื่อขายเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนที่ดิน และ
ค่าพัฒนาที่ดินเพื่อขาย ซึ่งจะหยุดบันทึกดอกเบี้ยเป็นต้นทุน เมื่อที่ดินและการพัฒนาที่ดินเพื่อขายดังกล่าว เสร็จสมบูรณ์พร้อม
ที่จะใช้ในการประกอบการ
ในปี 2541 ในงบการเงินรวม และงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ ได้หยุดบันทึกดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เพื่อใช้ในการจัดหา
ที่ดินและพัฒนาที่ดินเพื่อขาย เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนที่ดินและค่าพัฒนาที่ดินเพื่อขายของบางโครงการ แต่บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย
จำนวน 201,445,963 บาท และ 65,654,392 บาท ตามลำดับ เนื่องจากโครงการดังกล่าวได้หยุดชะงักการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
บาท
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ
2541 2540 2541 2540
ดอกเบี้ยจ่ายที่บันทึกเป็น
ต้นทุนสำหรับปี 41,283,518 188,855,453 1,941,901 58,750,425
3.8 เงินลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกันและบริษัทอื่น
เงินลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน บันทึกตามวิธีส่วนได้เสีย ส่วนเงินลงทุนในบริษัทอื่นแสดงในราคาทุน
3.9 ที่ดินรอการพัฒนา
ที่ดินรอการพัฒนา แสดงตามราคาทุน ซึ่งประกอบด้วย ต้นทุนในการได้มาซึ่งที่ดิน ดอกเบี้ยเงินกู้ที่เกี่ยวข้อง
และต้นทุนอื่นที่เกี่ยวข้อง
3.10 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ แสดงในราคาทุน
ค่าเสื่อมราคา คำนวณโดยวิธีเส้นตรง ตามอายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์เป็นระยะเวลา 5 - 20 ปี
3.11 ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี
ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ตัดบัญชีโดยวิธีเส้นตรงเป็นเวลา 1-5 ปี
ในปี 2541 ในงบการเงินรวม และงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ บริษัทฯ ได้ตัดจ่ายค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน
และค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชีของ โครงการที่หยุดชะงักการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จำนวน 84,157,141 บาท และ 42,990,562 บาท
ตามลำดับ เป็นค่าใช้จ่าย
บา ท
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ
2541 2540 2541 2540
ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน และ
ค่าใช้จ่ายตัดบัญชี สำหรับปี 95,265,374 15,387,051 53,819,205 10,598,141
3.12 ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี
บริษัทฯ ถือหลักปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป ในการบันทึกรอการตัดบัญชีภาษีเงินได้ที่เกิดจากการ
รับรู้รายได้ ซึ่งมีความแตกต่างด้านเวลาของรายการทางการเงินและทางภาษีอากร ผลแตกต่างนี้เกิดจากทางบัญชีรับรู้รายได้
ตามเกณฑ์อัตราร้อยละของงานพัฒนาที่ทำเสร็จ ในขณะที่ทางภาษีอากรรับรู้รายได้ตามจำนวนเงินค่างวดที่ถึงกำหนดชำระตาม
สัญญา
3.13 รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งเกิดขึ้นระหว่างปี แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ที่เกิด
รายการ ส่วนสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ในงบดุล แปลงค่าเป็นเงินบาท โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน
ณ วันที่ในงบดุลที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อและขาย ณ วันสิ้นปี กำไรหรือขาดทุนดังกล่าวได้รวมอยู่ในงบกำไรขาดทุนแล้ว
3.14 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
บริษัทฯ ได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใหม่ขึ้น ในเดือนตุลาคม 2537 โดยพนักงานจ่ายเงินสะสมในอัตราที่แน่นอน
จากเงินเดือน และบริษัทฯ จ่ายสมทบอีกส่วนหนึ่งในอัตราตามอายุการทำงานของพนักงานแต่ละคน เพื่อเข้ากองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพ โดยให้สถาบันการเงินในประเทศแห่งหนึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2540 บริษัทฯ ได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้ระงับการนำส่งเงิน
เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2540 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2542
3.15 ขาดทุนต่อหุ้น
ขาดทุนต่อหุ้น คำนวณโดยการหารขาดทุนสุทธิด้วยจำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ออกจำหน่ายแล้ว
4. เงินลงทุนระยะสั้น - สถาบันการเงิน
เงินลงทุนระยะสั้น ประกอบด้วย เงินฝากประจำและตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการเงินในประเทศหลายแห่ง ชนิดกำหนดเวลา
ไม่เกิน 1 ปี มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 - 6.00 ต่อปี ในปี 2541 และชนิดกำหนดเวลาไม่เกิน 1 ปี และเมื่อทวงถาม มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ
10.50 - 15.75 ต่อปี ในปี 2540
เงินฝากประจำได้จำนำไว้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับธนาคาร เนื่องจากการให้ธนาคารค้ำประกันให้แก่การไฟฟ้านครหลวง และ
ค้ำประกันเงินกู้ยืมเพื่อการซื้อบ้านให้แก่ลูกค้า
5. ลูกหนี้การค้า
บาท
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ
2541 2540 2541 2540
จำนวนเงินตามที่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว 4,705,299,410 4,862,851,153 2,333,062,842 2,420,169,251
ร้อยละของยอดขายรวมของโครงการ 78.57 78.11 85.76 87.10
ค่างวดที่ถึงกำหนดชำระ 3,654,077,336 3,320,490,036 1,968,805,112 1,906,980,685
หัก เงินรับชำระแล้ว (3,636,337,339) (3,269,583,339) (1,960,512,679) (1,898,000,530)
ลูกหนี้ค่างวดที่ค้างชำระ 17,739,997 50,906,697 8,292,433 8,980,155
6. มูลค่างานที่เสร็จยังไม่ได้เรียกเก็บ
บาท
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ
2541 2540 2541 2540
การรับรู้รายได้ 4,089,153,554 4,141,733,982 2,173,916,243 2,212,907,352
หัก ค่างวดที่ถึงกำหนดชำระแล้ว (3,654,077,336) (3,320,490,036) (1,968,805,112) (1,906,980,685)
มูลค่างานที่เสร็จยังไม่ได้เรียกเก็บ 435,076,218 821,243,946 205,111,131 305,926,667
7. เงินให้กู้ยืมระยะสั้นและเงินทดรองแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน
บาท
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ
2541 2540 2541 2540
เงินให้กู้ยืมระยะสั้น - บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน
บริษัท วิภาวิว จำกัด - - 242,250,000 262,850,000
บริษัท บ้านสยาม จำกัด - - 189,814,945 184,573,645
บริษัท คอนติเนนตัล ซิตี้ จำกัด - - 62,489,981 83,729,290
บริษัท บ้านสุขสบาย จำกัด - - 58,600,000 73,367,609
บริษัท บางพลีวิว จำกัด - - 43,093,863 51,850,000
บริษัท รีเสิร์ช แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด - - 2,860,000 7,230,000
รวมเงินให้กู้ยืมระยะสั้น-บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - - 599,108,789 663,600,544
ดอกเบี้ยค้างรับจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน
บริษัท วิภาวิว จำกัด - - 68,487,604 50,209,741
บริษัท บ้านสยาม จำกัด - - 44,727,899 28,870,542
บริษัท คอนติเนนตัล ซิตี้ จำกัด - - 19,423,831 14,618,515
บริษัท บ้านสุขสบาย จำกัด - - 9,345,049 5,885,035
บริษัท บางพลีวิว จำกัด - - 17,358,326 14,243,549
บริษัท รีเสร์ช แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด - - 244,060 -
รวมดอกเบี้ยค้างรับจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - - 159,586,769 113,827,382
เงินทดรองแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน
บริษัท วิภาวิว จำกัด - - 30,520,854 30,432,781
บริษัท บ้านสยาม จำกัด - - 15,695 -
บริษัท คอนติเนนตัล ซิตี้ จำกัด - - 8,074 -
บริษัท บ้านสุขสบาย จำกัด - - 11,196,734 11,201,903
บริษัท บางพลีวิว จำกัด - - 31,086 50,000
บริษัท เอส แอนด์ พี พร็อพเพอร์ตี้
แมเนจเมนท์ จำกัด (เดิมชื่อ
บริษัท โนเบิล พร็อพเพอร์ตี้
แมเนจเมนท์ จำกัด) - - - 87,472
บริษัท เวิร์ลไทม์ โฮลดิ้ง จำกัด - - - 21,243
บริษัท รีเสิร์ช แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด - - 67,938 48
รวมเงินทดรองแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - - 41,840,381 41,793,447
รวมเงินให้กู้ยืมระยะสั้นและ
เงินทดรองแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - - 800,535,939 819,221,373
เงินให้กู้ยืมดังกล่าวเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินประเภทเมื่อทวงถามมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.00-17.25 ต่อปี ในปี 2541 และร้อยละ 5.50-19.75 ต่อปี
ในปี 2540
8. สินค้าคงเหลือ
บา ท
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ
2541 2540 2541 2540
สินค้าซื้อมาเพื่อขาย - 993,329 - -
วัสดุก่อสร้างคงคลัง 1,972,407 4,179,699 - -
รวม 1,972,407 5,173,028 - -
9. ต้นทุนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
บา ท
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ
2541 2540 2541 2540
ที่ดินระหว่างการพัฒนา 1,592,897,474 1,597,874,919 963,123,911 963,123,911
ดอกเบี้ยที่ถือเป็นต้นทุน 618,967,779 577,730,589 124,740,307 122,798,406
งานระหว่างก่อสร้าง 1,949,291,049 1,889,488,885 973,401,862 965,186,198
บ้านตัวอย่างและสำนักงานโครงการ 116,136,582 115,584,120 42,109,810 41,712,989
ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย 245,954,157 327,252,066 133,907,540 157,649,907
ต้นทุนอื่นที่เกี่ยวกับโครงการ 74,954,812 76,017,846 5,821,085 5,010,895
รวม 4,598,201,853 4,583,948,425 2,243,104,515 2,255,482,306
หัก ส่วนที่โอนไปเป็นต้นทุนขาย (2,996,272,430) (2,830,761,788) (1,597,646,567) (1,581,831,156)
ต้นทุนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 1,601,929,423 1,753,186,637 645,457,948 673,651,150
ต้นทุนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีราคาประเมินตามการประเมินครั้งล่าสุดที่กระทำเมื่อ วันที่ 31 ธันวาคม 2538 มีราคาประมาณ
2,175.50 ล้านบาท ในส่วนของงบการเงินรวม และ 986.40 ล้านบาท ในส่วนของงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ ซึ่งราคาประเมิน ณ วันที่
31 ธันวาคม 2538 นั้น มีราคาสูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน บริษัทฯ มิได้ตั้งสำรองเผื่อการด้อยค่าของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เนื่องจากมีความเห็นว่า
การด้อยค่านั้นเป็นการชั่วคราวที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของประเทศ
ในงบการเงินรวม เพื่อสามารถโอนโฉนดให้ลูกค้าได้เป็นราย ๆ เมื่อได้รับชำระเงินเรียบร้อยแล้ว บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้แบ่งแยกที่ดินที่อยู่
ในโฉนดใหญ่บางแปลงแบ่งเป็นโฉนดรายย่อยโดยผ่านคนกลาง และโฉนดรายย่อยทั้งหมดที่ยังไม่ได้โอนให้ลูกค้า ได้นำไปเป็นหลักฐานการ
จำนองกับธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งแทนโฉนดเดิม
(ยังมีต่อ)